ประวัติหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

    1.1  ปรัชญา

          เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพิ่มพูนการสร้างปัญญา พัฒนาชุมชนท้องถิ่น

    1.2 ความสำคัญ

          ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี
พ.ศ. 2558 ให้ความหมายของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง หมวดวิชาที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง เข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคมศิลปวัฒนธรรม และธรรมชาติ ใส่ใจต่อความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องดเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม พร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และเป็นพลเมือง       ที่มีคุณค่า ของสังคมไทยและสังคมโลก นั้น เพื่อให้การพัฒนาปรับปรุงหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ให้ทันสมัยและให้มีการบูรณากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและให้เกิดผลการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดหมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (TQF-HEd) ให้มากขึ้น คณะกรรมการบริหารหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี กำหนดให้การปรับหมวดวิชา     ศึกษาทั่วไป ฉบับปรุง พ.ศ. 2554 ที่ใช้จัดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันได้ครบรอบการปรับหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ให้สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 และให้นักศึกษาเกิดผลการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดหมวดวิชา      ศึกษาทั่วไปที่สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 รวมถึงให้นักศึกษาสามารถ “สร้างปัญญา พัฒนาชุมชนท้องถิ่น” ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ        สุราษฎร์ธานีได้

    1.3 วัตถุประสงค์

การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตให้บรรลุผลการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ ดังนี้

1.3.1 มีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างดี

1.3.2 มีความรอบรู้ เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น มีความซาบซึ้งในคุณค่าศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม

1.3.3 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และเข้าใจความเป็นจริงของชีวิตและโลกที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นองค์รวม

1.3.4 ตระหนัก สำนึกในความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะและเป็นพลเมือง  ที่มีคุณค่าในการรับใช้ชุมชนท้องถิ่น สังคมไทยและสังคมโลก

1.3.5 มีทักษะการสื่อสารด้วยภาษาไทยและภาษาต่างประเทศสามารถประยุกต์ใช้       ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

1.3.6 มีความเป็นนักปฏิบัติ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานและชีวิตประจำวันได้อย่างรู้เท่าทัน